โทษของความตระหนี่

การประหยัดกับความตระหนี่นั้นแตกต่างกัน "การประหยัด" หมายถึง การไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในเรื่องที่ไม่จำเป็น  รู้จักใช้จ่าย เลือกซื้อของที่คุ้มค่า ฯลฯ แต่ "ความตระหนี่" นั้น คือ การไม่รู้จักให้ทาน คิดเอาแต่ประโยชน์ส่วนตัวมากที่สุด ไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม ไม่คำนึงถึงจิตใจผู้อื่น ไม่ให้ทาน แม้แต่เพื่อน หรือ แม้แต่ญาติๆของตน

พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงโทษของความตระหนี่ไว้ ดังนี้:

น เว กทริยา เทวโลกํ วชนฺติ พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ
ธีโร จ ทานํ อนุโมทมาโน เตเนว โส โหติ สุขี ปรตฺก.

พวกคนตระหนี่จะไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย, พวกคนพาลแลย่อม ไม่สรรเสริญทาน
ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาทานอยู่ เพราะเหตุนั้นนั่นเอง นักปราชญ์นั้น จึงเป็นผู้มีสุขในโลกหน้า.


คนตระหนี่ย่อมไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย นั่นหมายถึง มีอบายภูมิ คือ สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสูรกาย หรือ นรก เป็นที่หมายนะครับ น่ากลัวมากครับ ใครที่มีนิสัยตระหนี่ขี้เหนียวกลับใจได้ก็ควรนะครับ.... เจริญธรรม


ที่มา: เรื่องอสทิสทาน อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓


0
0
0
s2smodern

ติดตามเราบนช่องทางอื่น:

ติดตามเรา ทาง FACEBOOK

ติดตามเรา ทาง LINE @

ซีรี่ย์อีสานสาวแพนนิทานก้อม

จำหน่ายฉนวนกันเสียง Rockwool และ Zoundblock

รับติดตั้ง ผนังกันเสียง คอนโดฯ